พอร์ตอินพุตเอาต์พุต

 พอร์ตอินพุตเอาต์พุต
พอร์ต มีความหมายถึงแอดเดรสหนึ่งที่ได้รับการกำหนดไว้เพื่อการโอนย้ายข้อมูลระหว่างไมโคร คอนโทรลเลอร์กับอุปกรณ์ภายนอก การกำหนดประเภทของการติดต่อขึ้นอยู่กับทิศทางการไหลของข้อมูลเมื่อพิจารณาจากไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นหลัก
1.บัสของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้ ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและเป็นการพัฒนาไปในทางที่สวนกระแสกันด้วย กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้นกว่าสมัยแรกๆมาก แต่ราคากลับถูกลงมากเช่นกัน
     การทำงานที่ดีขึ้นและเร็วขึ้นของคอมพิวเตอร์มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน และส่วนหนึ่งที่ทำให้การสื่อสารภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น ก็คือเส้นทางในการลำเลียงข้อมูลไปยังส่วนต่างๆ ระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) กับอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยความจำหลัก (Main memory) หรือ อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์โดยตรง (I/O) ซึ่งเส้นทางดังกล่าว ก็คือ ระบบบัส (System Bus) หรือที่เรามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “บัส” นั่นเอง

 bus2

 ระบบบัส (System Bus)
เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและขนถ่ายข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผล (CPU) กับอุปกรณ์อื่นๆ โดยระบบบัสจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลักของคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ ไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เปรียบเสมือนเป็นถนนที่มีหลายช่องทางจราจร ที่ยิ่งมีช่องทางจราจรมาก ก็ยิ่งระบายรถได้มากและหมดเร็ว ซึ่งในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) จะมีบัสต่างๆ ดังนี้

บัสข้อมูล (DATA BUS) เป็นบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ใช้เป็นเส้นทางผ่านในการควบคมุการส่งถ่ายข้อมูลจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ไปยังอุปกรณ์อุปกรณ์ภายนอกหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก เพื่อทำการประมวลผลที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)

– บัสรองรับข้อมูล (ADDRESS BUS คือบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ไหนไปที่ใด โดยจะต้องส่งสัญญาณเลือกออกมาทาง ADDRESS BUS

– บัสควบคุม (CONTROL BUS)เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามา หรือจะส่งข้อมูลออกไป จากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยระบบภายนอกจะตอบรับต่อสัญญาณควบคุมนั้น
       :การออกแบบระบบบัส (System Bus) ของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ได้รับการออกแบบให้ทำงานในรูปแบบของการแข่งขันเพื่อแย่งใช้ทรัพยากร นั่นคือในเวลาหนึ่งๆ สามารถมีการแย่งเพื่อขอใช้บัสได้จากอุปกรณ์หลายๆ ตัว แต่ทว่าจะมีเพียงอุปกรณ์หนึ่งตัวเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น ถ้ามีอุปกรณ์จำนวนมากเชื่อมต่อเข้ากับบัส ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของบัสลดต่ำลง เนื่องจากจะทำให้บัสมีความยาวมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้การสื่อสารในบัสใช้ระยะเวลาหน่วงนานมากขึ้น และเมื่อมีความต้องการใช้งานบัสของอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวในการให้บริการของบัสแล้ว ก็อาจจะส่งผลให้บัสเกิดปัญหากลายเป็นจุดคอขวดในการสื่อสารได้ด้วยเหตุนี้ ทำให้ทั้ง Intel และ AMD ต่างก็ได้พยายามคิดค้นนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีบัสใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตนั่นเอง
ที่มา: http://www.vcharkarn.com/vblog/40712

2.พอร์ตขนาด
พอร์ตขนาด หรือ Parallel Port นั้นเดิมเรียกว่า Printer Port เพราะการใช้งานส่วนใหญ่กับพอร์ตขนาน เป็นการใช้งาน โดยการต่อกับเครื่องพรินเตอร์เป็นหลัก โดยที่พอร์ตขนานนั้น สามารถให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่า พอร์ตอนุกรมราว 8 ถึง 10 เท่า และยังสามารถส่งข้อมูลขนาน 8 บิตออกไปได้โดยตรงพอร์ตขนานของเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยสัญญาณทั้งหมด 25 เส้นสัญญาณ โดยสัญญาณจะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะหน้าที่ของสัญญาณ ประกอบด้วย
1. Data Port จำนวน 8 เส้นสัญญาณ
2. Status Port จำนวน 5 เส้นสัญญาณ
3. Control Port จำนวน 4 เส้นสัญญาณ

 ที่มา:https://www.gotoknow.org/posts/323298

3.พอร์ดอนุกรม
ข้อมูลในไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เราใช้ศึกษาอยู่นี้ จะเป็นข้อมูลที่มีความยาวขนาด 1 ไบต์ หรือ 8 บิตซึ่งโดยปกติถ้าเราจะให้ส่งข้อมูลพร้อมๆกันไป 8 บิตจะเป็นวิธีการส่งข้อมูลแบบขนาน แสดงได้ดังรูป 11ก จะเป็นการส่งข้อมูลขนาด 8 บิตพร้อมกันไปยังอุปกรณ์ภายนอก และจะต้องมีจำนวนของสายสัญญาณจำนวน 8 เส้น เพื่อให้พอดีกับจำนวนของบิตที่ต้องการจะส่ง การส่งข้อมูลแบบขนานจึงทำให้มีการส่งข้อมูลที่มีความรวดเร็ว แต่ถ้าหากมีการสื่อสารข้อมูลในระยะไกล ก็จะต้องใช้จำนวนของสาย และระยะทางของสายมากขึ้นจึงทำให้มีการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง

                                                   รูปที่ 1 แสดงการส่งข้อมูลแบบขนานและแบบอนุกรม
         ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมจึงถูกนำมาใช้ ในการสื่อสาร โดยจะใช้สายเพียงเส้นเดียวในการส่งข้อมูล หรือรับข้อมูล (คำว่าเส้นเดียวหมายความว่าสายส่ง(TxD) 1 เส้น สายรับ(RxD) 1 เส้น และสายกราวด์ร่วม(Ground) 1 เส้น ) นำมาใช้สื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอกในระยะทางที่ไกล ดังในรูป 1ข ถ้าหากต้องการส่งข้อมูลขนาด 8 บิต ก็จะทำการส่งข้อมูลออกไปทีละบิตเป็นลำดับไป จนกว่าจะครบจำนวนทั้ง 8 บิต ดังในรูป 1ค จะแสดงการเปลี่ยนข้อมูลแบบ
ขนานให้เป็นแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งไปตามสายสัญญาณที่ละบิตตามจังหวะเวลาที่กำหนด เป็นความกว้างของพัลส์ โดยจังหวะเวลาที่กล่าวนี้จะต้องมีมาตรฐาน ของฝ่ายส่ง และฝ่ายรับด้วย ในการรับสัญญาณที่ส่งมาทีละบิต จะทำการตรวจสอบระดับแรงดันของสัญญาณที่เข้ามาเพื่อแปลงเป็นลอจิก “1” หรือ “0” เมื่อรับข้อมูลเข้ามาครบใน 1 ไบต์ที่กำหนดไว้ ก็จะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลแบบขนานเหมือนเดิม

จังหวะเวลาของการสื่อสารข้อมูลอนุกรม
      ในการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม เพื่อรับหรือส่งข้อมูล จะเป็นลักษณะของกลุ่มข้อมูล ดังนั้นอัตราความเร็วจะต้องมีค่าเท่ากันระหว่างการรับและการส่งโดยทั่วไปเราจะระบุความเร็วของจำนวนบิตในการรับและส่งข้อมูล เป็นจำนวนของบิตที่จะส่งใน 1 วินาที โดยเรียกความเร็วในการส่งข้อมูลว่า อัตราบอด(Baud Rate) ซึ่งมีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที เช่น 300, 1,200, 2,400, 4,800 และ 9,600 บิตต่อวินาที ในรูป 12 ถ้าหากมีการส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จะใช้เวลาในการรับส่งข้อมูลหนึ่งบิตมีค่าเท่ากับ 1/9600 หรือ 104.1 ไมโครวินาที และเวลาในการรับส่งข้อมูลทั้ง 8 บิตจะมีค่าเท่ากับ 8 x 104.1 หรือ832.8 ไมโครวินาที

                                 รูป 2 แสดงการส่งข้อมูลแบบอนุกรมด้วยความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที
 รูปแบบของการสื่อสารข้อมูลอนุกรม
 การสื่อสารข้อมูลอนุกรมแบบอะซิงโคนัส เป็นวิธีการรับและส่งข้อมูลโดยไม่ต้องอาศัยสัญญาณนาฬิกาส่งร่วมไปด้วย แต่จะใช้อัตราความเร็วของจำนวนข้อมูลต่อวินาที และจะทำการเพิ่มบิตข้อมูลบางอย่างร่วมไปกับการส่งข้อมูลจริง เพื่อจะได้ทำการตรวจสอบข้อมูลได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้นแสดงดังรูปที่ 13 ซึ่งประกอบด้วยกัน 4 ส่วนคือ
     1.บิตเริ่มต้น (Start bit) จะมีขนาด 1 บิต จะเป็นละดับลอจิกตรงกันข้ามกับระดับลอจิกของสภาวะสายสื่อสาร ขณะที่ยังไม่มีการส่งข้อมูล
     2.บิตข้อมูล (Data bit) จะเริ่มจากบิตที่มีนัยสำคัญต่ำสุดก่อนหรือ บิต LSB ก่อน โดยข้อมูลที่จะส่งอาจจะมีขนาด 5 ,6, 7 หรือ 8 บิตก็ได้
     3.บิตแสดงสภาวะเลขคู่หรือเลขคี่ (Parity bit) มีขนาด 1 บิตโดยบิตนี้จะนำไปต่อท้ายกับบิตข้อมูล ค่าของบิตนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนค่าของข้อมูลที่เป็น “1”
โดยเลือกการส่งข้อมูลเป็นแบบ พาริตี้คู่ หรือ พาริตี้คี่ ตัวอย่าง ถ้ากำหนดให้มีการส่งข้อมูลแบบพาริตี้คู่ แต่ข้อมูลมีเลข 1 เป็นจำนวนคี่ ก็จะให้บิตพาริตี้นี้เป็น “1”เพื่อจะได้จำนวนเลข “1” เป็นคู่นั้นเอง ทำนองเดียวกันทางด้านรับเองก็ต้องมีการตรวจสอบจำนวนข้อมูลที่รับเข้ามาเป็น “1” รวมทั้งบิตพาริตี้ 1 บิต ถ้ามีค่า “1”เป็นจำนวนคู่ แสดงว่าข้อมูลที่รับเข้ามาถูกต้อง
* สามารถกำหนดการรับและส่งข้อมูลเป็นแบบ NONE โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบพาริตี้บิตก็ได้
          4.บิตสุดท้ายหรือบิตหยุด (Stop bit) เป็นการระบุถึงขอบเขตของการสิ้นสุดข้อมูล โดยจะทำให้ขาข้อมูลมีสถานะ ลอจิกเป็น “1” ซึ่งอาจมีจำนวนมากกว่า หนึ่งบิตก็ได้ เช่น 1 บิต 1.5 บิต หรือ 2 บิต

    การเชื่อมต่อพอร์ตอนุกรมมาตรฐาน RS-232

            การกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบอนุกรม EIA RS-232 (x) เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Industries Association) ออกแบบมาเพื่อใช้ในการส่งข้อมูลอนุกรมแบบ อะซิงโครนัส 2 ทิศทาง เพื่อให้มีการใช้งาน
ในการเชื่อมต่อที่สอดคล้องกัน ระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ การรับส่งสัญญาณจะกำหนดความยาวสูงสุดไว้ที่ไม่เกิน 50 ฟุตโดยมีระดับ สัญญาณตั้งแต่ 3 โวลท์ จนถึง 15 โวลท์ สำหรับลอจิก “0” และมีระดับแรงดันที่ -3 โวลท์ จนถึง -15 โวลท์ สำหรับลอจิก “1” ดังแสดงในรูป4
ดังนั้นสังเกตได้ว่าจะมีระดับแรงดันที่ใช้ในสถานะลอจิก “0” และ ลอจิก “1” แตกต่างออกไปจากระบบไอซีดิจิตอลทั่วๆไป การต่อใช้งานจึงต้อง
มีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนระดับแรงดันจาก 0 – 5 โวลท์ จากไมโครคอนโทรลเลอร์ ให้เป็นระดับแรงดันที่สูงกว่า +3 หรือต่ำกว่า – 3 โดยจะมีไอซีสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน หรืออาจจะต่อวงจรจากทรานซิสเตอร์ได้

  
                                รูปที่ 4 แสดงระดับแรงดันสัญญาณของพอร์ตอนุกรม RS-232 กับ TTL ในสถานะลอจิก “1” และ “0”

ไอซี MAX232 ,L232
ไอซี MAX232, L232 เป็นไอซีที่แปลงระดับสัญญาณจากระดับ TTL ไปเป็นระดับของ RS-232 และในทำนองเดียวกันก็รับระดับสัญญาณจาก RS-232เพื่อแปลงเป็นระดับสัญญาณจากระดับ TTL ให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ได้


 รูปที่ 5 แสดงตำแหน่งขาของไอซี MAX232, L232 และการต่อใช้งาน

ไอซี DS275
การจัดวงจรภายในของไอซี DS275
รายละเอียดของขาใช้งาน
  RXOUT ( ขา 1 ) :สัญญาณเอาต์พุตของด้านรับ RS-232
           VDRV    ( ขา 2 ) :ขารับแรงดัน +V ของด้านส่ง
           TXIN      ( ขา 3 ) :ขารับสัญญาณอินพุตด้านส่ง RS-232 GND ( ขา 4 ) :กราวด์
           VCC        ( ขา 5 ) :ขารับไฟเลี้ยง +5 โวลท์ RXIN ( ขา 6 ) :ขารับสัญญาณอินพุตด้านรับ RS-232
           NC          ( ขา 7 ) :ไม่ใช้งาน TXOUT ( ขา 8 ) :ขารับสัญญาณเอาต์พุตด้านส่ง RS-232

   ไอซี DS275 เราใช้ไอซีเพียงตัวเดียว ที่ทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลได้และใช้อุปกรณ์ร่วมน้อยชิ้น มีคุณสมบัติโดยใช้กำลังงานจากแหล่งจ่ายต่ำในการรับ-ส่ง ผ่านพอร์ตอนุกรม ระดับสัญญาณในการส่งอยู่ในช่วง +5 ถึง +12 โวลท์

วงจรจากทรานซิสเตอร์
 

ที่มา:http://www.adisak51.com/page06_1.html
4.พอร์ตสื่อสารยุคใหม่

556000015778502

        ไม่ต้องหงุดหงิดกับการเปลี่ยนด้านเมื่อเสียบสายผิดวิธีอีกต่อไป แต่วันนี้พอร์ต USB ยุคใหม่กำลังแจ้งเกิดเพื่อให้ผู้บริโภคใช้ด้านใดก็ได้

       กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐานสายเชื่อมต่อผ่านพอร์ตยูเอสบี USB 3.0 Promoter Group แย้มแผนพัฒนาพอร์ตยูเอสบีเจเนอเรชันใหม่ที่สามารถใช้ใส่ด้านใดก็ได้ (ทั้งบนและล่าง) การันตีพอร์ตยูเอสบีมาตรฐานใหม่รองรับพอร์ตดั้งเดิมที่ใช้งานในปัจจุบัน แต่มีขนาดบางลงจนช่วยให้ผู้ผลิตสามารถนำไปติดตั้งในอุปกรณ์ที่ออกแบบให้มีความบางเฉียบ
        พอร์ตเชื่อมต่อยูเอสบีใหม่นี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าไทป์ซี (Type-C) เป็นรูปแบบใหม่สำหรับพอร์ตมาตรฐาน USB 3.1 ที่คาดว่าจะได้รับการผลิตอย่างเต็มตัวในกลางปี 2014
       รายงานระบุว่า Type-C ถูกออกแบบมาให้ใช้กับปลายสายยูเอสบีทั้ง 2 ด้าน โดยปัจจุบันพอร์ต USB Type-A ถูกนำมาติดกับปลายสายด้านเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือเต้าเสียบอุปกรณ์ชาร์จ ขณะที่พอร์ต USB Type-B จะถูกติดกับปลายสายด้านเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ จุดนี้หากคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ชาร์จ, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ หันมาติดตั้งพอร์ต Type-C สิ่งที่จะเกิดขึ้นทันทีคือการลดจำนวนสายเชื่อมต่อที่ผู้บริโภคต้องพกพาเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านี้เข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม พอร์ตมาตรฐานใหม่ยังจำเป็นต้องใช้สายเคเบิลและตัวแปลงใหม่ๆ เพื่อให้ Type-C สามารถใช้งานกับพอร์ต Type-A และ Type-B ดั้งเดิมได้ จุดนี้เชื่อว่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ยูเอสบี โดยเฉพาะ USB Type-A ที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานบนคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายช่วงกลางยุค 90 จะได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้โดยตรง
       ในขณะที่ยังไม่มีการเผยแพร่ภาพถ่ายพอร์ตมาตรฐาน Type-C อย่างเป็นทางการ รายงานระบุว่า Type-C จะมีขนาดเทียบเท่าพอร์ตไมโครยูเอสบี (Micro USB) หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า USB 2.0 Micro-B แต่มีความสามารถเสียบ
เชื่อมต่อด้วยด้านใดก็ได้ คุณสมบัตินี้มีความคล้ายคลึงกับพอร์ตเชื่อมต่อ “ไลต์นิ่ง (Lightning)” ของแอปเปิล ซึ่งผู้ใช้จะไม่ต้องเสียเวลาสังเกตสายชาร์จโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตเพื่อเลือกด้านสำหรับเสียบกับพอร์ต และไม่ต้องหงุดหงิดกับการเปลี่ยนด้านเมื่อเสียบสายผิดวิธีอีกต่อไป
       ในแถลงการณ์ เบรด เซาน์เดอร์ส (Brad Saunders) ประธานกลุ่ม USB 3.0 Promoter Group เชื่อว่า Type-C จะสามารถตอบโจทย์เทรนด์การออกแบบผลิตภัณฑ์ในอนาคตได้ทั้งแง่ขนาดและประโยชน์ใช้สอย โดยยกให้ Type-C คือมาตรฐานพอร์ตเชื่อมต่อเดียวในตลาดที่จะสามารถใช้งานข้ามอุปกรณ์แทบทุกประเภทในอนาคต ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์พกพา และอุปกรณ์อื่นๆ เนื่องจาก Type-C จะรองรับทั้งการชาร์จพลังงาน และการรับส่งข้อมูล
       อย่างไรก็ตาม Type-C ยังคงเป็นมาตรฐานพอร์ตเชื่อมต่อใหม่ที่ต้องรอให้กลุ่ม USB 3.0 Promoter Group กำหนดคุณสมบัติหม้อแปลง (adapter) และสาย (cable) ขณะเดียวกันยังมีประเด็นเรื่องความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ชาร์จพอร์ตยูเอสบี Type-A และ Type-B ที่มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนในท้องตลาด ทั้งหมดนี้ทำให้พอร์ตยูเอสบีมาตรฐานใหม่ต้องรอผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนจะเริ่มกระบวนการผลิตได้อย่างจริงจัง
       การพัฒนาพอร์ตยูเอสบีมีมาตรฐานใหม่นั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องสำคัญในวันที่แอปเปิลมีพอร์ตเชื่อมต่อ Lightning เป็นจุดขายแล้ว แต่ผู้ผลิตอุปกรณ์ฝั่งยูเอสบีอย่างซัมซุงหรือค่ายอื่นนั้นยังใช้พอร์ต Micro USB 3 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ทั้งหมดนี้ทำให้ผู้วางเดิมพันกับมาตรฐานยูเอสบีต้องเร่งพัฒนาตัวเองโดยเร็ว
ที่มา:http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000150849
5.การ์ดเสียงและการ์ดแสดงผล

   

การ์ดเสียง (Sound card)
เสียงเป็น ส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ จำเป็นที่สำคัญของระบบ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้
ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน น้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน ความชัดเจน ของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความ ละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณ ค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูก กำหนด โดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น – A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ – A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของ สัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
ส่วนประกอบของการ์ดเสียง
การ์ดเสียงเกิดจากการนำเอาอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์มาประกอบรวมกันบนแผง PCB (Print Circuit Board) โดยมี ชิปที่เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างเสียงคือ Synthesizer ซึ่งในปัจจุบันมักเป็นแบบ wave table โดยผู้ผลิตชิปสังเคราะห์ เสียงที่มีชื่อเสียง คือ ESS และ Yamaha ส่วนอื่นจะเป็นช่องต่อสำหรับนำสัญญาณเข้า-ออก เพื่อทำงานด้านเสียง
1. คอนเน็คเตอร์ CD Audio เป็นส่วนที่อยู่ในเครื่อง เพื่อรับสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกจากไดร์ฟซีดีรอมผ่านสายเชื่อม ต่อที่มี 4 ช่อง สำหรับนำมาเสียบเข้ากับตัวคอนเน็คเตอร์ การเสียบผิด ด้านไม่ทำให้เสียหายแต่จะเป็นการสลับช่องสัญญาณออก สู่ ลำโพงซ้าย-ขวา เท่านั้น
2. ชิปสังเคราะห์เสียง หรือ Synthesizer ในยุคแรกเป็นแบบ FM ที่เรียกว่า Frequency Modulation เป็นการ สังเคราะห์เสียงแบบผสมความถี่ซึ่งไม่นิยมใช้ ปัจจุบันนี้ เพราะไม่สามารถให้เสียงที่เป็นธรรมชาติเหมือนเครื่องดนตรีจริงได้ WaveTable เป็นวิธีการสังเคราะห์เสียงที่นิยมใช้กันมากที่สุด ในยุคปัจจุบันเนื่องจากสามารถให้เสียงได้ใกล้เคียงกับเครื่อง ดนตรีจริงมากที่สุด ซึ่งวิธีการคือ บันทึกเสียงเครื่องดนตรีจริงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดไว้เป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อเก็บไว้เป็นต้น แบบไปหาจากเสียงต้นแบบในตารางเสียงที่มีความถี่เดียวกันมา การ์ดเสียงที่ใช้วิธีการนี้ จึงให้เสียงเหมือนกับมีเครื่องดนตรี บรรเลงอยู่จริง ๆ
3. ช่อง Line – out (สีชมพู) ช่องต่อนี้จะมีเฉพาะการ์ดเสียงแบบ 4 แชนแนล ใช้สำหรับต่อสัญญาณเสียง ไปยังลำโพง แบบ Surround ซ้าย-ขวา
4. ช่อง Line – in (สีน้ำเงิน) สำหรับรับสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์กำเนินเสียงอื่น เช่น เครื่องเล่นวิทยุ – เทป เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ เข้ามาที่การ์ดเพื่อขยายสัญญาณเสียง หรือแสดงผลที่เครื่องของเรา
5. ช่อง Speaker (สีเขียว) สำหรับส่งสัญญาณเสียงจากการ์ดเสียงออกไปยังลำโพงปกติในแบบสเตอริโอ
6. MIDI/Game Port เป็นคอนเน็คเตอร์รูปตัว “D” ใช้ต่อพ่วงอุปกรณ์ประเภท MIDI หรืออุปกรณ์สำหรับเล่นเกม เช่น จอยสติก เกมแพด ฯลฯ

ชนิดของการ์ดเสียง (Sound Card) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 
   1. การ์ดเสียง (Sound Card) แบบ ISA ซึ่งผลิตออกมานานแล้วจะใช้ร่วมกับเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่มีสล็อต ISA ระบบเสียงยังไม่ได้คุณภาพ แต่ก็เป็นการ์ดเสียง ที่ได้รับการนิยมในสมัยอดีด แต่ในปัจจุบันการ์ดเสียงแบบ ISA ไม่มีแล้ว

2. การ์ดเสียง (Sound Card) แบบ PCI เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถสังเคราะห์เสียงได้อย่างมีคุณภาพและมีราคาไม่แพงมากแต่ก็มีราคาแพงในบางรุ่น สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ

  3. การ์ดเสียง (Sound Card) แบบ External ชนิดของการ์ดเสียง (Sound Card) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท แต่ที่จัด การ์ดเสียง (Sound Card) แบบ External ออกเป็นประเภทที่ 3 ก็เพราะว่าการ์ดเสียงแบบนี้เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีการติดตั้งที่แตกต่างจาก การ์ดเสียง (Sound Card) ที่บอกมาข้างต้นด้วย โดยสามารถที่จะติดตั้งโดยผ่านทางพอร์ต USB ทำให้ในการใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

ที่มา:http://thanatudd210020.blogspot.com/2013/08/sound-card.html
การ์ดแสดงผล
อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ์ดวีดีโอหรือการ์ดจอ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำผล การประมวลจากซีพียูไปแสดงบนจอภาพ การ์ดแสดงผลมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไป ใช้งาน ถ้าหากเป็นการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งานในสำนักงาน ใช้อินเตอร์เน็ต อาจใช้การ์ดแบบ 2 มิติ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นการ เล่นเกมใช้โปรแกรมประเภทกราฟิก 3 มิติ ก็ควรเลือกการ์ดจอ ที่จะ ช่วยแสดงผลแบบสามมิติหรือ 3D การ์ด

การ์ดจอบางแบบอาจถูกออกแบบติดไว้กับเมนบอร์ด โดยเฉพาะเมนบอร์ดแบบ ATX ซึ่งมี อยู่หลายยี่ห้อที่ได้รวมการ์ดจอเข้ากับเมนบอร์ด อาจสะดวกและ ประหยัด แต่หากพูดถึงประสิทธิภาพ โดยรวมของเครื่องแล้ว อาจจะไม่ดีเท่ากับการ์ดที่แยกต่างหากจากเมนบอร์ด ซึ่งอาจแบ่งช่วงของการ ใช้การ์ดจอได้ดังนี้
1. การ์ดจอแบบ ISA และ VL
เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า 386 และ 486 รุ่นแรกๆ การ์ดรุ่นนี้ สามารถ แสดงสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น การดูภาพ จึงอาจจะไม่สมจริงเท่าไรนัก เพราะขาดสีบางสีไป
2. การ์ดจอแบบ PCI
เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ 486 รุ่นปลายๆ เช่น 486DX4-100 และเครื่องระดับ เพนเทียมหรือคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 MHz ถึง ประมาณ 300 MHz จะมีความเร็ว ในการแสดงผลสูงกว่าการ์ดจอแบบ ISA
3. การ์ดจอแบบ AGP
เป็นการ์ดจอที่แสดงผลได้เร็วที่สุด เริ่มใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น AMD K6-II/III, K7, Duron, Thunderbird, Athlon XP, Cyrix MII, MIII, VIA Cyrix III, Pentium II, III, IV และ Celeron เป็นการ์ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
การ์ดจอบางรุ่นจะมีช่อง TV Out สามารถต่อสายไปยังทีวีได้ กรณีที่ต้องการดูหนังหรือร้อง คาราโอเคะ ก็ต่อเข้าจอ 29″ ร้องกันให้สะใจไปเลย
4. การ์ดจอแบบ 3 มิติ
การ์ดจอสำหรับงานกราฟิค เล่นเกมสามมิติ ตัดต่อวีดีโอ ราคาแพงกว่าการ์ด จอสามประเภทแรก และผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคอเกมเมอร์ทั้งหลาย เพราะคนใช้งาน ทั่วๆ ไป อย่างเราๆ การ์ดธรรมดา ก็พอแล้ว มันแพงครับ บางตัว 20,000 กว่าบาท เกือบซื้อเครื่องดีๆ ได้อีกตัว การ์ดจอต่างๆ เหล่านี้จะมี ตัวประมวลผล (GPU) ช่วยประมวลผลหรือคำนวณเกี่ยวกับการสร้างภาพให้ปรากฏบนจอ ซึ่งจะทำให้ การแสดงภาพทำได้ดีมากกว่าการ์ดจอทั่วๆไป จึงต้องมีพัดลมช่วยระบายความร้อน ด้วยการ์ดจอแบบนี้ อาจมีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการเชื่อมต่อแบบ PCI หรือ AGP แต่ส่วนใหญ่ในตอนนี้จะเป็นแบบ AGP มากกว่า
ที่มา:http://www.siamebook.com/lbro/basic-computer/34-01001/3880-computer-display-card.html

ใส่ความเห็น